1. ปลาคก (ปลาตะเพียนต้มเค็ม) ชลบุรี
ปลาคกเป็นอาหารประจำของชาวจังหวัดชลบุรี ซึ่งทำมาจากปลาตะเพียนกับน้ำต้มผักกาดดอง ตะไคร้ กระเทียม พริกแห้งและเกลือ ใส่ปลาไว้บนสุด เคี่ยวบนไฟอ่อนๆ รวมกันกับน้ำเป็ดพะโล้ สำหรับรับประทานกับข้าวต้มหรือข้าวสวย ซึ่งสามารถหาทานได้เฉพาะในพื้นที่เท่านั้น เช่น ตำบลบางปลาสร้อย เป็นต้น
2. ไก่กะเต็ด (นครราชสีมา)
ไก่กะเต็ดเป็นของชาวโนนไทย เป็นการอบไก่ในหม้อที่พลิกกลับโดยการกะเต็ด (การกะเต็ดหมายถึงการสะบัด ฝัดข้าว) การนำไก่สดทั้งตัว มาคลุกเคล้ากับเครื่องเทศ แล้วนำไปใส่หม้อตั้งไฟการกะเต็ดแล้วพลิกไปพลิกมา จนกว่าไก่จะสุก ใช้เวลาประมาณ 45 นาที
3. กระเฉดชะลูดน้ำ (ปราจีนบุรี)
กระเฉดชะลูดน้ำ เป็นผักขึ้นชื่อของอำเภอกบินทร์บุรี มีการเพาะปลูกที่แตกต่างจากผักกระเฉดทั่วไป คือ เพาะปลูกในแหล่งที่มีน้ำไหลทำให้ผักกระเฉดชะลูดที่จะโผล่พ้นน้ำและไม่มีนมสีขาว จึงเป็นที่มาของชื่อ กระเฉดชะลูดน้ำ อีกลักษณะเด่นคือ เส้นยาว รอบ กลิ่นไม่ฉุน นิยมนำมาประกอบอาหารเช่น ผัด ยำ เป็นต้น
4. นาซิดาแฆ (ปัตตานี)
นาซิดาแฆ สุดยอดอหารเช้าที่ขึ้นชื่อของชาวไทยมุสลิม มักเรียกความสนใจจากนักชิมอาหารได้เสมอ "นาซิดาแฆ" เป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายข้าวมันของไทย ใช้ข้าวสามชนิดคือข้าวเหนียว ข้าวเจ้า และข้าวซ้อมมือ นิยมทำเลี้ยงรับรองแขก สำหรับวิธีการกินมันทานคู่กับแกงกะหรี่ แกงไก่ แกงเนื้อ และแกงปลาโอสดๆ แกงไข่ เป็นแกงกะทิที่มีส่วนผสมของเครื่องเทศกลิ่นหอม ชวนน่ารับประทาน
5. ข้าวแรมฟืน (เชียงราย)ข้าวแรมฟืน
เป็นอาหารชนิดหนึ่งมีรสเปรี้ยวเผ้ดหวาน เป็นได้ทั้งอาหารว่างและอาหารหลักทั้งคาวและหวาน แต่ทุกอย่างเป็นมังสวิรัติเป็นอาหารเจซึ่งเป็นที่นิยมของชาวไทยใหญ่ ไทลื้อและไทเขิน นำเข้ามาจากสิบสองปันนาประเทศจีน และผ่านมาทางพม่าอำเภอแม่สาย จ.เชียงราย
6. ขนมจีนน้ำย้อย (แพร่)
มีแหล่งกำเนิดมาจาก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โดยเป็นการนำแป้งขนมจีนที่สดดๆ บีบลงหม้อต้มน้ำร้อนๆ พอสุกก็ตักขึ้นสะเด็ดน้ำคนเมืองเรียกว่าน้ำย้อย นำมาคลุกน้ำพริกที่ปรุงรสครบเครื่อง รสชาติกลมกล่อม แล้วเหยาะน้ำปลา คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วทานได้เลย แห้งๆแบบ ผัดไท โดยจะมีผักเคียงตามชอบเช่น ถั่วฝักยาว ถั่วงอกสดหรือลวก และเพิ่มไข่ต้มยางมะตูม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น